สังคมศึกษาฯ

สังคมศึกษาฯ

ประเภทของระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาหน่วยเศรษฐกิจทั้งหลายในแต่ละสังคมอาจมีลักษณะที่ แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันกับประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่แตกต่างจากสหภาพพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น ลักษณะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจได้ ๓ ประเภท ดังนี้
๑. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือแบบบังคับ
                    ระบบ เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือแบบบังคับ เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ทำหน้าที่ กล่าวคือ รัฐจะเป็นผู้กำหนดวางแผนเองว่าสังคมจะต้องผลิตสินค้าและบริการอะไรในประมาณ เท่าใด ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใครกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินหรือทรัพยากรมักเป็นของรัฐ ดังนั้น การตัดสินใจทางเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้ระบบนี้ จึงมาจากการตัดสินใจของรัฐบาลหรือการวางแผนจากส่วนกลาง
                    ประเทศ ที่มีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับนี้มีอยู่หลายประเทศ เช่น ประเทศสหภาพ เวียดนาม สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้มักเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมหรือ คอมมิวนิสต์
.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือแบบตลาด
                    ระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือแบบตลาด เป็นระบบเศรษฐกิจที่หน่วยเศรษฐกิจต่างๆสามารถตัดสินใจเลือกซื้อหรือผลิต สินค้าและบริการตามความต้องการของตนได้อย่างเสรี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของเอกชน นั่นคือ ประชาชนสามารถที่จะเลือกผลิตสินค้าบริโภคใดก็ตามความพึงพอใจ ตลอดจนสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเท่าที่ตนหามาได้แต่ทั้ง นี้ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายที่กำหนดในระบบเศรษฐกิจแบบนี้    
๒. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
                  ใน สภาพความเป็นจริงเราไม่สามารถแยกออกได้ว่าในแต่ละประเทศของโลกมีระบบ เศรษฐกิจแบบใดเนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละลักษณะล้วนผสมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่อาศัยศาสนาวัฒนธรรมประเพณีหรือแบบ บังคับที่อำนาจการตัดสินใจต่างๆขึ้นอยู่กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
                   จาก ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือแบบตลาดเป็นระบบเศรษฐกิจ ที่ประชาชนหรือเอกชนสามารถค้าขายแข่งขันกันได้อย่างเสรี โดยที่รัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือยุ่งเกี่ยวให้น้อย ที่สุดแต่อย่างไรก็ตามในระบบเศรษฐกิจที่กิจที่มีการแข่งขันกันแบบนี้ก็ สามารถเกิดการผูกขาดขึ้นได้ โดยผู้ประกอบการรายย่อยและสามารถกำหนดราคาสินค้าเพื่อสร้างกำไรเกินควร เนื่องจากมีอำนาจต่อรองที่สูงเมื่อกลไกราคาไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่าง มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งรวมถึงการผลิตและการจ่ายแจกสินค้าให้แก่ระบบเศรษฐกิจด้วย